back to top
HomeTravelสัมผัสอัญมณีเม็ดงามที่ซ่อนอยู่ของหาดนาใต้ จังหวัดพังงา

สัมผัสอัญมณีเม็ดงามที่ซ่อนอยู่ของหาดนาใต้ จังหวัดพังงา

สัมผัสชีวิตเหนือระดับบนชายฝั่งอันดามันที่สวยงามกับ Veyla Natai Residences โครงการวิลล่าหรูริมหาดในบรรยากาศที่เงียบสงบ อันเป็นอัญมณีที่ซ่อนอยู่ของหาดนาใต้ จังหวัดพังงา โครงการ อยู่ห่างจากสนามบินภูเก็ตเพียง 30 นาที ในพื้นที่ขนาด 5.8 ไร่ พร้อมชายหาดที่ทอดยาวถึง 110 เมตร วิลล่าทั้ง 15 หลังถูกออกแบบให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติ สะท้อนกลิ่นอายท้องถิ่นอย่างมีเอกลักษณ์และประณีต พื้นที่กว้างขวางและสิ่งอำนวยความสะดวกทันสมัย พร้อมบริการจากทีมงานมืออาชีพที่เอาใจใส่และอบอุ่น

ที่นี่ คุณจะได้ดื่มด่ำกับทะเลอันดามันอันกว้างไกล พักผ่อนท่ามกลางสวนสวยและสระว่ายน้ำส่วนตัว ใช้เวลาช่วงบ่ายในการพักผ่อนริมสระหรือสวนสวยซึ่งตกแต่งอย่างพิถีพิถัน ชื่นชมภาพพระอาทิตย์ตกดินที่ชวนหลงใหล พร้อมจิบเครื่องดื่มแก้วโปรด และสิ้นสุดวันด้วยบทเพลงกล่อมที่นุ่มนวลจากเสียงคลื่น 

Veyla Natai Residences เป็น “บ้านริมทะเล” ซึ่งจะทำให้ทุกวินาทีของคุณเป็นช่วงเวลาที่มีค่าและความหมาย Veyla Natai Residences เป็นตัวเลือกอันสมบูรณ์แบบสำหรับผู้ที่มองหาบ้านพักตากอากาศ ที่อยู่อาศัยถาวร หรือแม้กระทั่งโอกาสการลงทุนซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคต

คุณยังสามารถออกไปสำรวจสถานที่ท่องเที่ยวอันน่าตื่นตาตื่นใจในพังงาและภูเก็ตได้อย่างง่ายดาย มีกิจกรรมหลากหลายให้เข้าร่วมเพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจ 

สะพานนาใต้เป็นสถานที่ที่นิยมสำหรับการตกปลา เนื่องจากมีแหล่งปลาชุกชุมใต้สะพาน ทำให้ที่นี่กลายเป็นจุดตกปลายอดนิยมในจังหวัดพังงา นอกจากนี้ ยังเป็นจุดที่เหมาะสำหรับการดำน้ำ และในช่วงเย็น สถานที่แห่งนี้ยังเป็นจุดที่เหมาะสำหรับการชมพระอาทิตย์ตก ผู้คนมักพาครอบครัวมานั่งพักผ่อน ชมวิว และเล่นน้ำทะเลอย่างสนุกสนาน อีกทั้งยังมีร้านขายอาหารทะเลสดๆ ขาย เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ในราคาที่ไม่แพง

กลุ่มวิสาหกิจแห่งนี้เกิดขึ้นจากการรวมตัวของสมาชิกในชุมชุน ที่มีความสนใจในงานหัตถกรรมและเห็นคุณค่าของต้นตาลซึ่งพบได้มากในพื้นที่ตำบลโคกกลอย ในระยะแรก ได้มีการนำลำต้น ใบ และงวงตาล มาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน และในเวลาต่อมานั้นได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความทนทาน พร้อมทั้งยังคงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยอย่างงดงาม และสามารถนำมาจำหน่ายในตลาดได้

วัดท่าไทร หรือ วัดเทสก์ธรรมนาวา ตั้งอยู่ที่บ้านท่าแตง ตำบลนาเตย เป็นวัดริมทะเล ท่ามกลางป่าสนที่ร่มรื่น อุโบสถของวัดเป็นอาคารทรงไทย จำลองแบบสถาปัตยกรรมจากอุโบสถของวัดอรัญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย และได้นำมาประยุกต์สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง โดยมีลักษณะโดดเด่นจากงานไม้แกะสลักบริเวณบานประตู หน้าต่าง และหน้าบัน ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ฝีมือการแกะสลักจากช่างพระนครศรีอยุธยา ส่วนช่อฟ้าแกะสลักโดยช่างฝีมือจากจังหวัดเชียงใหม่ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาองค์ใหญ่ ที่แกะสลักจากหินหยกขาว ซึ่งมีพุทธลักษณะอ่อนช้อยงดงามตามแบบศิลปะอินเดีย กำแพงแก้วที่ล้อมรอบอุโบสถสร้างด้วยไม้ที่คงรูปทรงตามธรรมชาติ และมีใบเสมาที่แกะสลักจากหินหยกขาว เป็นวัดที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ท่ามกลางภูมิประเทศที่สวยงามของภาคใต้

หาดท้ายเหมืองได้รับการยกย่องให้เป็นชายหาด 5 ดาวจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากความสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด ธรรมชาติที่นี่ยังคงรักษาความงดงามไว้ได้อย่างสมบูรณ์เหมือนเดิม หาดท้ายเหมืองตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เป็นชายหาดที่มีความยาวกว่า 13 กิโลเมตร และทอดตัวขนานไปกับแนวถนน มีทิวต้นสนทะเลที่ให้ความร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อนในบรรยากาศที่เงียบสงบ น้ำทะเลใสสะอาด และสามารถลงเล่นน้ำได้ นอกจากนี้ยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่งดงาม

หาดท้ายเหมืองยังเป็นที่รู้จักในฐานะสถานที่ ที่เต่าทะเลจะขึ้นมาขุดหลุมเพื่อวางไข่ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีลมมรสุม ทำให้มีนักท่องเที่ยวและผู้สนใจมาติดตามพฤติกรรมของเต่าวางไข่ในเวลากลางคืนเดือนหงาย หลังจากที่ไข่เต่าฟักออกมาแล้วในเดือนมีนาคม จะมีกิจกรรมปล่อยลูกเต่าลงสู่ทะเล ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างความคึกคักให้กับชายหาดแห่งนี้ โดยกิจกรรมดังกล่าวเรียกว่า “ประเพณีเดินเต่า” หรือ “ประเพณีปล่อยเต่า”

ภายในอุทยานแห่งนี้ยังมีซากเรือขุดแร่ลำแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นเรือขุดแร่ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่บึงน้ำในป่าสนริมหาด มีลักษณะเป็นโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ที่แบ่งเป็นช่อง ๆ สร้างขึ้นระหว่างปี 2518-2520 โดยมีการสร้างในลักษณะลอยน้ำในอู่ที่ขุดขึ้นริมชายหาดเพื่อเปิดพื้นที่ทำเหมือง อย่างไรก็ตาม เมื่อเรือขุดยังสร้างไม่แล้วเสร็จ เจ้าของสัมปทานได้ยกเลิกการทำเหมืองแร่เสียก่อน จึงเหลือเพียงซากเรือขุดแร่ไว้ให้เห็น

ในบริเวณใกล้เคียงกันยังพบชิ้นส่วนเครื่องจักรขนาดใหญ่อีกหลายชิ้น ซึ่งตั้งเรียงรายอยู่บนพื้นดิน โดยเฉพาะส่วนฟันเฟืองขนาดใหญ่ที่ดูแปลกตาอย่างมาก ทั้งนี้ อุทยานแห่งชาติได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม พร้อมมีป้ายประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประวัติและที่มาของเรือขุดแร่ลำนี้ ซึ่งกลายเป็นจุดเช็กอินแห่งใหม่สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนอุทยานฯ นอกเหนือจากการชมความงดงามของชายหาด ทะเล และน้ำตกต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่

ชุมชนบ้านท่าดินแดง เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดพังงา ชาวบ้านท่าดินแดงมีบรรพบุรุษเป็นชาวมุสลิมที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยลักษณะของพื้นที่เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล ซึ่งทำให้หมู่บ้านนี้ล้อมรอบไปด้วยป่าชายเลนหรือป่าโกงกางที่ขึ้นหนาแน่นและเขียวชอุ่มทั่วทั้งบริเวณ หมู่บ้านนี้มีประชากรประมาณ 500 คน เคยได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์คลื่นสึนามิ แต่เนื่องจากมีป่าชายเลนเป็นด่านธรรมชาติที่ป้องกันไว้ จึงช่วยลดความรุนแรงของเหตุการณ์และหมู่บ้านสามารถฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว ชาวบ้านจึงร่วมมือกันในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ดังเดิม

หลังจากนั้น หมู่บ้านได้พัฒนาพื้นที่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทั้งในด้านธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชน นอกจากนี้พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นเหมืองแร่ดีบุกมาก่อน จึงยังคงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดแร่ไว้เป็นอนุสรณ์ ซึ่งรวมถึงรางคอนกรีตคู่ที่ทอดตัวยาว 40 เมตร มีอายุเกิน 50 ปี และยังมีการสาธิตวิธีการร่อนแร่ในสมัยนั้นให้ผู้ที่สนใจได้ชม

กิจกรรมท่องเที่ยวในหมู่บ้าน ได้แก่ การพายเรือคายักชมป่าโกงกาง การเล่นน้ำและชมชายหาดทรายขาวละเอียดที่เงียบสงบ การเดินชมทุ่งหญ้าสะวันนา(เสมือน) การฟังเรื่องเล่าสมัยสงครามโลกบริเวณเขาหน้ายักษ์ การชมการทำประมงน้ำตื้น การเลี้ยงปลาในกระชัง การเลี้ยงหอยนางรม การปลูกสาหร่ายผมนางเพื่อใช้เป็นอาหาร รวมถึงการสัมผัสวิถีการเกษตร เช่น การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ การคั่วเม็ดมะม่วงหิมพานต์แบบพื้นบ้าน และการซื้อของที่ระลึกจากชุมชน

ตลาดเช้านาใต้ ตั้งอยู่ในตำบลโคกกลอย เปิดให้บริการเฉพาะวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 05:00 – 10:00 น. ที่นี่เป็นแหล่งรวมของสดหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเลสดใหม่ เนื้อ ผักผลไม้ตามฤดูกาล รวมถึงอาหารปรุงสุกพร้อมทาน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเลือกซื้อวัตถุดิบคุณภาพหรือเพลิดเพลินกับบรรยากาศตลาดท้องถิ่นในยามเช้า

- COVER ART -

Most Popular

More to See