ในตอนแรกของซีรี่ส์นักลงทุนชื่อก้องโลกของ Esquire เราเปิดหัวด้วย Warren Buffet ไปแล้ว มาต่อด้วยนักลงทุนคนที่ 2 ที่มีชื่อเสียงไม่แพ้กัน ซึ่งคนที่เรากำลังจะพูดถึงก็คือ Ray Dalioนั่นเอง
ถ้าถามคำถามนี้ในแวดวงนักลงทุน เชื่อว่าคงรู้จักเขาเป็นอย่างดีในฐานะนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่หนึ่งในสิบของโลก แต่สำหรับคนที่ไม่อยู่วงการนี้เราจะเล่าเรื่องของเรย์ให้ฟังคร่าวๆ ก็แล้วกัน เรย์ ดาลิโอคือผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates ซึ่งเป็นกองทุนป้องกันความเสี่ยง ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเงินทุนราว 130,000 ล้านดอลลาร์ นอกเหนือจากการเป็นนักลงทุนแล้ว เขายังเขียนหนังสือเกี่ยวกับแนวคิดการลงทุนของเขาออกมาหลายเล่มในซีรีส์ Principles อาทิ Principles for Success , Principles for Dealing with The Changing World Order, Principles for Navigating Big Debt Crises, Principles: Book Summary และเล่มล่าสุดในปีนี้ที่ชื่อ Principles Economics & Investing นั่นเอง
หลักการในการลงทุนของ Ray Dalio
หลักการลงทุนรวมของเรย์จะเน้นไปการใช้ความสัมพันธ์เชิงเหตุเพื่อการวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัว กองทุนแต่ละกอง ว่าเหมาะสมสำหรับการลงทุนในช่วงเวลาหนึ่งหรือไม่ พูดง่ายๆ ก็คือการใช้ข้อมูลความเคลื่อนไหวทั้งเชิงกว้างและลึกในหุ้นหรือหลักทรัพย์เหล่านั้นมาประมวลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ และข้อมูลหนึ่งที่เรย์เชื่อว่ามีประสิทธิภาพมากในการตัดสินใจก็คือผลและการวิเคราะห์กรณีในอดีตที่เคยเกิดขึ้นมาประกอบการตัดสินใจบนฐานคิดที่ว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยอยู่เสมอ แนวคิดดังกล่าวนับได้ว่าเป็นปรัชญาการลงทุนที่ทรงอิทธิพลกับนักลงทุนยุคใหม่อย่างมาก จนนิตยสาร Time นิตยสาร Time เคยจัดอันดับให้ เรย์ ดาลิโอ เป็นหนึ่งในบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกในปี 2012
แนวคิดรากฐานแห่งปรัชญาการลงทุน
• เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนโอกาสและความเสี่ยงในการลงทุน : ส่วนตัวเรย์เป็นนักลงทุนระดับมหภาคที่ศึกษาแนวโน้มทางเศรษฐกิจเพื่อค้นหาโอกาสและระบุความเสี่ยงได้ซึ่งแตกต่างจากนักลงทุนระดับจุลภาคที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยทางเทคนิคเฉพาะบางบริษัทเท่านั้น
• นักลงทุนสามารถจัดการความเสี่ยงได้โดยการรวมสินทรัพย์ที่ไม่มีความสัมพันธ์เข้าไว้ด้วยกัน : Dalio เป็นผู้สนับสนุนหลักของการกระจายความเสี่ยง เขาแนะนำให้กระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน 15 รายการขึ้นไปเพื่อลดอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนเช่นลงทุนในหุ้นกับทองไปพร้อมกัน เพราะเมื่อหุ้นตก ทองก็จะไม่ตกด้วย หรืออาจะมีการลงทุนพันธบัตรรัฐบาลควบคู่ไปด้วย
• นักลงทุนควรทำกำไรจากหุ้นที่ราคาเต็ม : Dalio ไม่ใช่นักลงทุนแบบซื้อแล้วถือเท่านั้น เขาเชื่อในการทำกำไรจากหุ้นที่มีราคาแพงแล้วค่อยลงทุนใหม่ เขาเรียกแนวทางปฏิบัตินี้ว่า “การหมุนเวียนพอร์ตโฟลิโอ” ซึ่งเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนใหม่คือหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าราคาจริงนั่นเอง
• อคติเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ลงทุนขาดทุน : นักลงทุนมักจะมองตลาดเป็นบวกหรือลบ หรือมองสถานะใดสถานะหนึ่งเป็นอคติ ความเชื่อแบบมีทิศทางใดๆ ก็ตามสามารถกระตุ้นให้ผู้ลงทุนถือสถานะไว้นานเกินไป และพลาดโอกาสในการทำกำไรในที่สุด
• เงินเฟ้อก่อให้เกิดภัยคุกคามร้ายแรงต่อนักลงทุน : Dalio ให้ความเคารพต่อความสามารถของเงินเฟ้อในการสูบพลังซื้อและทำลายผลตอบแทนจากการลงทุน เขาจึงเป็นผู้สนับสนุนการถือครองทองคำเป็นแหล่งลงทุนทางเลือกมาอย่างยาวนาน
Ray Dalio ถืออะไรไว้ในพอร์ตบ้าง
1. กองทุน ETF ของ iShares Core Emerging Markets MSCI: 71 พันล้านเหรียญสหรัฐ
2. กองทุน ETF iShares Core S&P 500 : 318 พันล้านเหรียญสหรัฐ
3. บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล : 345 พันล้านเหรียญสหรัฐ
4. จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน : 416 พันล้านเหรียญสหรัฐ
5. เป๊ปซี่โค : 251 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งหมดเป็นหลักคิด วิธีการที่ Ray Dalio ใช้ในการสร้างผลตอบแทนทางการลงทุนในแบบของเขา ที่เราได้นำมาสาระสำคัญมาย่อยให้อ่านได้เข้าง่ายๆ ไว้คุณผู้อ่านได้ประยุกต์ดัดแปลงนำไปใช้ตามสถานการณ์การลงทุนที่เปลี่ยนไป ส่วนซีรี่ส์นี้ยังไม่จบนะครับ นักลงทุนที่เราจะนำมาเล่าถึงคนต่อไปจะเป็นใคร ติดตาม Esquire กันไว้นะครับ